เมนู

ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะ
อรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความเป็นผู้มีความ
ชำนาญ ในอินทรีย์ 3 ประการ โดยอาการ 64 เป็นอาสวักขยญาณ.


55. อรรถกถาอาสวักขยญาณนิทเทส


[258 - 263] พึงทราบวินิจฉัยในอาสวักขยญาณนิทเทสดังต่อ
ไปนี้. บทมีอาทิว่า อนญฺญาตญฺญสฺสามีตินฺทฺริยํ มีอรรถดังได้กล่าว
แล้ว.
บทว่า กติ ฐานานิ คจฺฉติ - ย่อมถึงฐานะเท่าไร เป็นคำถาม
เพื่อกำหนดฐานะที่เกิดของอินทรีย์หนึ่ง ๆ.
บทว่า เอกํ ฐานํ คจิฉติ - ย่อมถึงฐานะ 1 ท่านอธิบายว่า
ย่อมเกิดในฐานะ 1. ฐานะโอกาสที่เกิด ท่านกล่าวว่า ฐานะ เพราะ
มีที่ตั้ง
บทว่า ฉ ฐานานิ - ฐานะ 6 คือ ในขณะมรรคและผล 6.
ในอินทรีย์ 3 มีอนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์เป็นต้นแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย
เพื่อแสดงว่า อินทรีย์หนึ่ง ๆ เป็นอินทรีย์ยิ่ง. ท่านจึงกล่าวบทมีอาทิ
ว่า สทฺธินฺทฺริยํ อธิโมกฺขปริวารํ โหติ - มีสัทธินทรีย์ซึ่งมีความน้อมใจ
เชื่อเป็นบริวาร. ท่านกล่าวอธิโมกข์เป็นต้น ด้วยสามารถกิจแห่ง

สัทธินทรีย์เป็นต้น ในบทมีอาทิว่า สทฺธินฺทฺริยสฺส อธิโมกฺขฏฺโฐ1-
มีอรรถว่าน้อมใจเชื่อแห่งสัทธินทรีย์ ฉันใด. แม้ในที่นี้ก็ฉันนั้น ท่าน
กล่าวว่า บทว่า อธิโมกฺขปริวารํ โหติ - เป็นบริวารของการน้อมใจ
เชื่อ คือ สัทธินทรีย์เป็นบริวารด้วยกิจแห่งการน้อมใจเชื่อ. แม้ในบท
ที่เหลือ ก็มีนัยนี้.
บทว่า ปริวารํ เป็นลิงควิปลาศ.
บทว่า ปญฺญินฺทิริยํ - ปัญญินทรีย์ ท่านกล่าว อนัญญาตัญ-
ญัสสามีตินทรีย์นั่นแหละทำไว้ต่างหากเพื่อแสดงสภาพรู้. แม้ในอภิ-
ธรรม ท่านก็จำแนกปัญญาหนึ่งไว้ 8 ส่วน ในขณะมรรคและในขณะ
ผล เพื่อแสดงความพิเศษของกิจด้วยปัญญา.

บทว่า อภิสนฺทนปริวารํ - มีความยินดีเป็นบริวาร คือ โสมนัส-
สินทรีย์เป็นบริวารแห่งจิตและเจตสิก ด้วยกิจคือความเนหาดุจน้ำเป็น
บริวารแห่งจุณเครื่องฟอกตัวในเวลาอาบน้ำ. บทนี้ ท่านกล่าวด้วย
สามารถมรรคอันสัมปยุตด้วยโสมนัส. พึงเห็นอุเบกขินทรีย์ในฐานะ
แห่งโสมนัสสินทรีย์ ในมรรคอันสัมปยุตด้วยอุเบกขา.
อนึ่ง พึงถือเอาอุเบกขินทรีย์นั้นว่า มีความไม่เพิ่มขึ้นเป็นบริวาร
ของสัมปยุตธรรมทั้งหลาย.
1. ขุ. ป. 31/32.

บทว่า ปวตฺตสนฺตตาธิปเตยฺยปริวารํ - ชีวิตินทรีย์มีความเป็น
อธิบดี ในความสืบต่อที่กำลังเป็นไปเป็นบริวาร คือความสืบต่อที่กำลัง
เป็นไป ชื่อว่า ปวัตตสันตตี. อธิบายว่า สันดานที่กำลังเป็นไปอยู่.
ความเป็นแห่งอธิบดี ชื่อว่า อธิปเตยยะ ความเป็นอธิบดีแห่งความ
สืบต่อที่กำลังเป็นไป ชื่อว่า ปวัตตสันตตาธิปเตยยะ.

ชีวิตินทรีย์เป็นบริวารแห่งอนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ เพราะ
เป็นปัจจัยแห่งความเป็นไป เบื้องบนของชีวิตนทรีย์ที่กำลังเป็นไปอยู่
และเพราะความเป็นอธิบดีของความสืบต่อที่เป็นไป ด้วยสามารถแห่ง
เบื้องต้นและเบื้องปลาย.

บทมีอาทิว่า โสตาปตฺติมคฺคกฺขเณ ชาตา ธมฺมา - ธรรม
ทั้งหลายเกิดในขณะแห่งโสดาปัตติผล ท่านกล่าว เพื่อแสดงถึงคุณแห่ง
ธรรมสัมปยุตด้วยมรรคทั้งปวง.
ในบทเหล่านั้น บทว่า มคฺคกฺขเณ ชาตา - ธรรมทั้งหลาย
เกิดในขณะแห่งมรรค คือ ธรรมที่ตั้งอยู่ในมรรคอย่างนั้น. มิใช่ธรรม.
อื่น. เพราะรูปแม้ตั้งอยู่ในมรรค ก็ไม่ได้ชื่อว่ากุศลเป็นต้น. ฉะนั้น
เมื่อนำรูปนั้นออกไป จึงกล่าวว่า ฐเปตฺวา จิตฺตสมุฏฺฐานํ รูป -
นอกจากรูปมิจิตเป็นสมุฏฐาน. เพราะว่า ธรรมทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้น
เป็นกุศล ด้วยอรรถว่ามีการทำลายสิ่งน่าเกลียดเป็นต้น. ธรรมเหล่านั้น

ทำนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้ว เป็นไปอยู่. ชื่อว่า อนาสวา - เพราะ
ไม่มีอาสวะ.
ธรรมทั้งหลายตัดมูลแห่งวัฏฏะ ทำนิพพานให้เป็นอารมณ์ ชื่อว่า
นิยฺยานิกา เพราะนำออกจากวัฏฏะ.
ธรรมที่กล่าวคือ กุศล อกุศล ชื่อว่า อปจยคามิโน เพราะ
ทำนิพพาน กล่าวคือ ความไม่สะสม เพราะความปราศจากไปให้เป็น
อารมณ์แล้วเป็นไป ย่อมถึงความไม่สะสม.
ชื่อว่า อปจยคามิโน เพราะไม่สะสม คือ กำจัดสิ่งที่เป็นไป
อยู่บ้าง.
ชื่อว่า โลกุตฺตรา เพราะข้ามออกไปจากโลก โดยความไม่
เกี่ยวเนื่องในโลก.
ชื่อว่า นิพฺพานารมฺมณา เพราะมีนิพพานเป็นอารมณ์.
บทมีอาทิว่า อิมานิ อฏฺฐินฺทฺริยานิ มีอินทรีย์ 8 ท่านกล่าว
เพื่อแสดงความเป็นบริวารดังกล่าวแล้วในตอนก่อน ความเป็นธรรม
มีอาทิ สหรคตด้วยอินทรีย์นั้น และอาการดังได้กล่าวแล้วในเบื้องต้น.
ในบทเหล่านั้น บทว่า อฏฺฐินฺทฺริยานิ คือ อินทรีย์ 8
พร้อมด้วยปัญญินทรีย์ มีนัยดังกล่าวแล้วในตอนก่อน.
บทว่า สหชาตปริวารา - มีสหชาตเป็นบริวาร คือ อินทรีย์ 7
นอกนั้น พร้อมด้วยอินทรีย์หนึ่ง ๆ ในอินทรีย์ 8 เป็นสหชาต จึงชื่อว่า

มีสหชาตของอินทรีย์นั้นเป็นบริวาร. อนึ่ง ธรรมอื่น ๆ เป็น อญฺญ-
มญฺญปริวารา
คือ มีธรรมอื่น ๆ เป็นบริวาร ด้วยประการฉะนี้. ธรรม
ทั้งหลาย มีธรรมที่อาศัยกันเป็นบริวาร มีธรรมที่ประกอบกันเป็นบริวาร
ของกันและกันก็อย่างนั้นเหมือนกัน.

บทว่า สทคตา คือ ถึงภาวะมีเกิดร่วมกันกับอนัญญาตัญญัส-
สามีตินทรีย์นั้น.
บทว่า สหชาตา คือ เกิดพร้อมกันกับอนัญญาตัญญัสสามี-
ตินทรีย์นั้น.
บทว่า สํสฏฺฐา คือ เกี่ยวข้องกันกับอนัญญาตัญญัสสามีติน-
ทรีย์นั้น.
บทว่า สมฺปยุตฺตา คือ ประกอบด้วยประการมีเกิดร่วมกัน
เสมอกับด้วยอนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์นั้น.
บทว่า เตว ได้แก่ ธรรม คือ อินทรีย์ 8 เหล่านั้นนั่นเอง.
บทว่า ตสฺส ได้แก่ อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์.
บทว่า อาการา คือ ส่วนที่เป็นบริวาร.
บทว่า ผลกฺขเณ ชาตา ธมฺมา สพฺเพว อพฺยากตา โหนฺติ-
ธรรมทั้งหลายที่เกิดในขณะผล ทั้งหมดเป็นอัพยากฤต คือ ท่านกล่าว
พร้อมกับรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน เพราะแม้รูปก็เป็นอัพยากฤต. ท่าน
ไม่กล่าวว่า เป็นกุศล เป็นนิยยานิกะ และเป็นอปจยคามี ในขณะ

ผล เพราะมรรคเป็นกุศล เป็นนิยยานิกะ และเป็นอปจยคามี. บท
มีอาทิว่า อิติ เป็นบทสรูป มีประการดังกล่าวแล้ว.
ในบทเหล่านั้น บทว่า อฏฺฐฏฺฐกานิ - อินทรีย์ 8 หมวด คือ
หมวด 8 แห่งอินทรีย์ อย่างละ 8 ด้วยสามารถหมวด 8 หมวด
หนึ่ง ๆ ในมรรคและผล 8.
บทว่า จตุสฏฺฐี โหนฺติ คือ รวมเป็นอาการ 64.
บทมีอาทิว่า อาสวา มีความดังกล่าวแล้วในหนหลังนั่นแหละ.
ในที่นี้ พึงทราบว่า ท่านมิได้กล่าวถึงอาสวะอันทำลายด้วย
อรหัตมรรคเท่านั้น กล่าวถึงการทำลายด้วยมรรค 3 หมวดที่เหลือ โดย
เพียงเป็นคำกล่าวธรรมดาถึงความสิ้นอาสวะ. เพราะท่านกล่าวถึงอรหัต-
มรรคญาณว่า ขเย ญาณํ - ญาณในความสิ้นไป เพราะสิ้นอาสวะไม่
มีอาสวะไร ๆ เหลือเลย. ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า พระอรหันต์ขีณาสพ
ด้วยประการฉะนี้.
จบ อรรถกถาอาสวักขยญาณนิทเทส


สัจญาณจตุกทวยนิทเทส


[264] ปัญญาในอรรถว่าเป็นสิ่งควรกำหนดรู้ เป็นทุกขญาณ
ปัญญาในอรรถว่าเป็นสิ่งควรละ เป็นสมุทยญาณ ปัญญาในอรรถว่า